หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดําริ "ฝนหลวง"



โครงการพระราชดําริ "ฝนหลวง"

มหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น และตระหนักในพระปรีชา
สามารถพระอัจฉริยภาพ ตลอดจนพระอุตสาหะวิริยะที่ทรงเสียสละเหนื่อยยากตรากตรำพระวรกาย ไม่เพียงแต่ทรงก่อให้เกิดแนวพระราชดำริขึ้นมาเท่านั้นยังทรงค้นคว้าทดลองปฏิบัติการด้วยพระองค์เอง จนทรงสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเป็นวัตกรรม “เทคโนโลยีฝนหลวง” พระราชทานให้ใช้ในการปฏิบัติการดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงจากแหล่งทรัพยากรน้ำในบรรยากาศอันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรน้ำในโลกทั้งบนผิวพื้นและใต้ดิน เพื่อกอบกู้หรือป้องกันภัยพิบัติอันเนื่องจากภัยแล้งให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤติการขาดแคลนทรัพยากรน้ำในมนุษย์โลกทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน นอกจากนั้นยังทรงติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤติแห้งแล้งอย่างรุนแรง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษกู้ภัยแล้งอีกทางหนึ่ง โดยนอกจากจะทรงบัญชาการปฏิบัติการด้วยพระองค์เองแล้วยังพระราชทานพระราชาทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นครั้งคราว รวมทั้งทรงพัฒนาเทคโนโลยี และประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคในการประยุกต์เทคโนโลยีฝนหลวงให้ก้าวหน้าและสัมฤทธิ์ผลยิ่งๆขึ้น ตลอดมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนล่าสุด พ.. 2542 ทรงพัฒนากรรมวิธีการดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝนจากทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็นในคราวเดียวกันเรียกว่า เทคนิค “SUPER SANDWICH” และทรงประดิษฐ์เป็นแผนภาพขั้นตอนกรรมวิธีด้วยคอมพิวเตอร์เรียกว่า “ตำราฝนหลวงพระราชทาน” จนได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในประเทศให้เป็นนวัตกรรมการดัดแปรสภาพให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงล่าสุดเมื่อ พ.. 2545 และพระราชทานให้เป็นเทคโนโลยีในการปฏิบัติการให้ก้าวหน้าตามราโชบายของโครงการฝนหลวง ป้องกันมิให้เกิดภัยพิบัติและภาวะวิกฤตอันเนื่องจากภัยแล้งจนขาดแคลนทรัพยากรน้ำทั้งด้านการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้อย่างสัมฤทธิ์ผลเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งได้รับการลงทะเบียนคำขอจดสิทธิบัตรการดัดแปลงสภาพอากาศ โดยเทคโนโลยีฝนหลวงไว้แล้วทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป



โครงการฝนหลวงนี้ นอกจากจะคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมแล้วยังเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงให้รอดพ้นจากภัยพิบัติอันเนื่องจากภัยแล้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบทผู้ยากไร้ที่อยู่ห่างไกลในท้องถิ่นทุรกันดารอย่างแท้จริงกิติศัพท์ความสำเร็จและพระปรีชาสามารถแผ่ไพศาลเป็นที่ยอมรับในมวลหมู่สมาชิกประเทศขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก 178 ประเทศ จนได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ2
2
และเกียรติบัตรสดุดีพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพจากองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ และองค์การของสหประชาชาติรวมทั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
รัฐบาลไทยประจักษ์ในพระเกียรติคุณและพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้น
กระหม่อมได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.. 2545 เฉลิมพระเกียรติในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” จึงเห็นได้ว่า โครงการฝนหลวง ทรงคุณค่าและคุณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ต่อมวลมนุษยชาติถ้วนหน้า เป็นโครงการรองรับเทคโนโลยีฝนหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พระราชทานเป็นตำราฝนหลวงในการตัดแปรสภาพอากาศและเพิ่มปริมาณฝนจากแหล่งทรัพยากรน้ำในบรรยากาศ เพื่อกอบกู้หรือป้องกันภัยแล้งอันเนื่องมาจากการขาดแคลนทรัพยากรน้ำทั้งบนผิวพื้นและใต้ดินในมนุษย์โลกทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝนเพื่อให้มวลมนุษย์ชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบทผู้ยากไร้อยู่ห่างไกลในท้องถิ่นทุรกันรอดพ้นจากภัยพิบัติและภาวะวิกฤติอันเนื่องจากภัยแล้ง ให้สัมฤทธิ์ผลตามพระบรมราโชบาย ขอแนะนำทางเทคนิคตำราฝนหลวงพระราชทาน ตลอดจนสิทธิบัตรการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงที่ทรงจดไว้แล้วในปัจจุบันและที่จะทรงจดในอนาคต ได้ครบถ้วนอย่างมีศักยภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งให้มีการสืบทอดและพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างเข้มแข็งมั่นคงยั่งยืนสภาพรสืบไป
**********************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น