หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

นางสาวอชิระมิน  เกตบุตร          53492441120
นางสาว สุภัทราวดี  สินธุวัตร      53492441121
นางสาว ศิริพร  ดารากัย             53492441132
นางสาว ชฎาภรณ์ กาญจนวงศ์   53492441136
นางสาว อภิชญา  แช่มหลง          53492441137
นางสาว วิชาดา  คำสัย                53492441138
นางสาว พยุดา เตชนันท์              53492441144
นาย ธณัฐพล มีบุญ                      53492441145
นางสาว กัญญ์ฐิสา ชะนะ             53492441151







วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการบำบัดน้ำเสีย


โครงการบำบัดน้ำเสีย
       ความเป็นมาและปัญหา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความยากจนของตัวเองได้ ี่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็น โครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

โครงการปลูกหญ้าเเฝก




โครงการปลูกหญ้าเเฝก
           "การที่จะมีต้นไม้ไปชั่วกาลนานนั้น สำคัญอยู่ที่การปลูกป่า และปลูกป่าบริเวณต้นน้ำซึ่งเป็นยอดเขา และเนินสูงนั้น ต้องมีการปลูกป่าโดยไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถนำไปใช้ได้ แต่ต้อง มีการ ปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อ เกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไม้ไว้ดีแล้ว ท้องถิ่นก็จะมีน้ำใช้ ชั่วกาลนาน...."

โครงการแก้มลิง



โครงการแก้มลิง
          "โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืช โครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ..๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่าน เสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนักและส่งผลกระทบต่สภาวะน้ำท่วม ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘

ฝายชะลอน้ำ




ฝายชะลอน้ำ
ที่ตั้งโครงการ
หมู่ที่ 5ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์  จังหวัดปัตตานี
ประวัติโครงการ
สํานักราชเลขาธิการ พระบรมมหา ราชวังได้มีหนังสือที่ รล0005/13381 ลงวันที่ 24 กันยายน 2544เรียนเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อพิจารณาเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ  เพื่อจักได้นำความถวายบังคมทูลพระกรุณาประกอบพระราชดำริต่อไปโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีหนังสือที่ นร 1108/2098 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ขอให้กรมชลประทานพิจารณา กรณี นายอาดัม บาเหมบูงา ประธานกรรมการองค์การบริหารส่วนตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 11 กันยายน 2544 ถึงสํานักราชเลขาธิการ ขอให้นําความกราบบังคมทูลพระมหากรุณาให้ทางราชการช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค-บริโภค จากโครงการประปาภูเขา ช่องเรือ ของราษฎรจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

โครงการพระราชดําริ "ฝนหลวง"



โครงการพระราชดําริ "ฝนหลวง"

มหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น และตระหนักในพระปรีชา
สามารถพระอัจฉริยภาพ ตลอดจนพระอุตสาหะวิริยะที่ทรงเสียสละเหนื่อยยากตรากตรำพระวรกาย ไม่เพียงแต่ทรงก่อให้เกิดแนวพระราชดำริขึ้นมาเท่านั้นยังทรงค้นคว้าทดลองปฏิบัติการด้วยพระองค์เอง จนทรงสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเป็นวัตกรรม “เทคโนโลยีฝนหลวง” พระราชทานให้ใช้ในการปฏิบัติการดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงจากแหล่งทรัพยากรน้ำในบรรยากาศอันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรน้ำในโลกทั้งบนผิวพื้นและใต้ดิน เพื่อกอบกู้หรือป้องกันภัยพิบัติอันเนื่องจากภัยแล้งให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤติการขาดแคลนทรัพยากรน้ำในมนุษย์โลกทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน นอกจากนั้นยังทรงติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤติแห้งแล้งอย่างรุนแรง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษกู้ภัยแล้งอีกทางหนึ่ง โดยนอกจากจะทรงบัญชาการปฏิบัติการด้วยพระองค์เองแล้วยังพระราชทานพระราชาทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นครั้งคราว รวมทั้งทรงพัฒนาเทคโนโลยี และประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคในการประยุกต์เทคโนโลยีฝนหลวงให้ก้าวหน้าและสัมฤทธิ์ผลยิ่งๆขึ้น ตลอดมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนล่าสุด พ.. 2542 ทรงพัฒนากรรมวิธีการดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝนจากทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็นในคราวเดียวกันเรียกว่า เทคนิค “SUPER SANDWICH” และทรงประดิษฐ์เป็นแผนภาพขั้นตอนกรรมวิธีด้วยคอมพิวเตอร์เรียกว่า “ตำราฝนหลวงพระราชทาน” จนได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในประเทศให้เป็นนวัตกรรมการดัดแปรสภาพให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงล่าสุดเมื่อ พ.. 2545 และพระราชทานให้เป็นเทคโนโลยีในการปฏิบัติการให้ก้าวหน้าตามราโชบายของโครงการฝนหลวง ป้องกันมิให้เกิดภัยพิบัติและภาวะวิกฤตอันเนื่องจากภัยแล้งจนขาดแคลนทรัพยากรน้ำทั้งด้านการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้อย่างสัมฤทธิ์ผลเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งได้รับการลงทะเบียนคำขอจดสิทธิบัตรการดัดแปลงสภาพอากาศ โดยเทคโนโลยีฝนหลวงไว้แล้วทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป