หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการปลูกหญ้าเเฝก




โครงการปลูกหญ้าเเฝก
           "การที่จะมีต้นไม้ไปชั่วกาลนานนั้น สำคัญอยู่ที่การปลูกป่า และปลูกป่าบริเวณต้นน้ำซึ่งเป็นยอดเขา และเนินสูงนั้น ต้องมีการปลูกป่าโดยไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถนำไปใช้ได้ แต่ต้อง มีการ ปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อ เกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไม้ไว้ดีแล้ว ท้องถิ่นก็จะมีน้ำใช้ ชั่วกาลนาน...."
           พระราชดำรัส ๑๔ เมษายน ๒๕๒๐พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ของประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ลดลงอย่าง รวดเร็ว พระองค์ท่านได้พยายามคิดค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้มากขึ้นอย่าง มั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะ ธรรมชาติดั้งเดิม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนึงถึงความสอดคล้องเกื้อกูลกันระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด ความเข้าใจถ่องแท้ถึงธรรมชาติและสภาวะตามธรรมชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติของพระองค์นั้น ทำให้เกิดแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรป่าไม้ซึ่งพระองค์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง " ปลูกป่า ๓ อย่าง เพื่อประโยชน์ ๔ อย่าง" กล่าวคือเพื่อมิให้เกษตรกรเข้าบุกรุกทำลายป่าไม้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ จึงควรให้ดำเนินการ ปลูกป่า ๓ อย่าง เพื่อประโยชน์ ๔ อย่าง คือ ป่าสำหรับไม้ใช้สอย ป่าสำหรับเป็นไม้ผล และ ป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ป่าหรือสวนป่าเหล่านี้นอกจากเป็นการเกื้อกูลและอำนวยประโยชน์ใน ๓ อย่างนั้นแล้ว ป่าไม้ไม่ว่าเป็นชนิดใดก็จะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำและคงความชุ่มชื้นไว้ อันเป็นการอำนวย ประโยชน์อย่างที่ ๔ ซึ่งเป็นผลพลอยได้ "การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก" เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าพระทัยอย่าง ลึกซึ้งถึงวิถีธรรมชาติ โดยได้ พระราชทานแนวคิดว่า บางครั้งป่าไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติ ขอเพียงอย่าเข้าไปรบกวนและทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากปล่อยไว้ตามสภาพ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ป่าไม้ก็ จะขึ้นสมบูรณ์เอง การระดมปลูกป่าด้วยความไม่เข้าใจ เช่น ปอกเปลือกหน้าดินซึ่งมีคุณค่ามากออกไปและปลูกพันธุ์ไม้ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและระบบนิเวศบริเวณนั้น นอกจากต้นไม้ที่ปลูกจะตายโดยไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังทำลายสภาพแวดล้อมอีกด้วย แนวความคิดที่ลึกซึ้งนี้จึงเป็น ที่มาของคำว่า "ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก" ซึ่งเป็นที่ยึดถือกันในหมู่ผู้รู้ทั่วไป
           ภารกิจหลักของกรมทางหลวง คือการก่อสร้างและบำรุงทางหลวงทั่วประเทศ และการก่อสร้างทางหรือ ขยายทาง ในบางครั้งในบางพื้นที่นั้นจำเป็นต้องตัดต้นไม้ที่มีอยู่สองข้างทางเดิมออกบ้าง เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณจราจร ที่เพิ่มขึ้น ที่ผ่านมากรมทางหลวงไม่เคยทอดทิ้งความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างทางแต่ละสายทางจะรักษาต้นไม้ที่มีอยู่เดิมไว้ ให้มากที่สุด หากจำเป็นต้องตัดก็จะมีการปลูกเพิ่มเติม โดยมีแนวทางการปลูกต้นไม้สองข้างทางกำหนดเป็นแบบมาตรฐานไว ้ในแผนงานก่อสร้าง ทางทุกสายทาง ซึ่งการปลูกต้นไม้ดังกล่าวนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ทางด้านวิศวกรรมและภูมิสถาปัตย์แล้ว ยังทำให้เกิด ความสวยงาม ร่มรื่น และเพื่อรักษา สภาพแวดล้อมอีกด้วย จากภารกิจดังกล่าว
           กรมทางหลวงยังดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่นอกเขตทางที่เป็นที่ดินสงวนซึ่งกระจายอยู่ในพื่นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในรูปแบบของการจัดทำเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนและในลักษณะของสวนป่า เพื่อให้เกิดความร่มรื่น สวยงาม และเป็นการสร้างความเขียวขจีให้กับประเทศ และการดำเนินการอันสำคัญยิ่งสำหรับกรมทางหลวงก็คือ โครงการปลูกต้นไม้เพื่อถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังต่อไปนี้
. โครงการปลูกซ่อมแซมต้นไม้ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ
โครงการปลูกป่าถาวร เฉลิมพระเกียรติเริ่มต้น ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ จากมติคณะรัฐมนตรี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ได้อนุมัติให้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชปีที่ ๕๐ ขึ้น โดยความร่วมมือร่วมใจระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งกระทรวงคมนาคมและกรมทางหลวงได้เริ่มดำเนินการปลูกต้นไม้ เพื่อร่วม โครงการดังกล่าว นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๓๗-๒๕๓๙ ตามแผนงานการปลูกป่าสองข้างทางหลวงแผ่นดินและ ทางรถไฟ โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกต้นไม้บริเวณสองข้างทางหลวงทั่วประเทศในสายทางต่าง ๆ รวมระยะทาง ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตร จำนวน ๑๕ ล้านต้น บนเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ ซึ่งในครั้งนั้นใช้ชื่อโครงการว่า " ป่าเขียวขจีสองข้างทางหลวง" โดยมีวัตถุ ประสงค์ดังนี้
-  สนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการปลูกต้นไม้รักษาสิ่งแวดล้อม
-  เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าตามนโยบายรัฐบาล
-  เพื่อให้ต้นไม้ให้ความร่มรื่น สวยงาม เป็นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของสัตว์ป่า
-  เพื่อลดมลภาวะและป้องกันภัยธรรมชาติ
-  เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
. โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงมีพระชนมายุ ๗๒ พรรษา โครงการนี้กรมทางหลวงจัดทำขึ้นเพื่อปลูกต้นไม้ยืนต้นที่จะเติบโตเป็นต้นไหญ่ ให้ร่มเงา และมีดอกสวยงามตลอดสองข้างทางหลวงและในเกาะกลางบริเวณถนนที่จะเข้าสู่ตัวเมืองสำคัญและเข้าสู่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๖ รอบ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ๒ ปี คือตั้งแต่ พ.. ๒๕๔๑-๒๕๔๒ จำนวน ๕๔๓,๙๒๕ ต้น ใน ๒๔๙ สายทาง ซึ่งกรมทางหลวงได้ดำเนินการปลูกต้นไม้ในโครงการนี้แล้วเสร็จรวมทั้งสิ้น ๗๑๒,๙๒๓ ต้น นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังมีโครงการปลูกต้นไม้เนื่องในวโรกาสสำคัญ ๆ เช่น โครงการปลูกต้นไม้สองข้างทางและในเกาะกลางถนน กำหนดระยะ เวลา ๕ ปี ตั้งแต่ พ.. ๒๕๔๒-๒๕๔๕ จำนวน ๓,๖๔๘,๗๗๙ ต้น ใน ๕๙๓ สายทาง โดยใน พ.. ๒๕๔๑ ได้ดำเนิน การปลูกไปแล้ว ๑,๐๙๖,๙๓๗ ต้น ใน พ.. ๒๕๔๒ ปลูกไปแล้วจำนวน ๙๑๗,๒๗๐ ต้น และใน พ.. ๒๕๔๓ ปลูกไปแล้วจำนวน ๗๔๗,๒๒๒ ต้นโครงการปลูกซ่อมแซมต้นไม้ในโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ พ.. ๒๕๔๒-๒๕๔๖ จำนวน ๔,๗๙๖,๒๓๒ ต้น ใน๘๒๔ สายทาง ซึ่งใน พ.. ๒๕๔๒ ได้ดำเนินการปลูกไปแล้วจำนวน ๑,๑๖๑,๕๓๒ ต้น และใน พ.. ๒๕๔๓ ปลูกไปแล้วจำนวน ๑,๐๙๙,๒๒๕ ต้น โครงการปลูกต้นไม้ เฉลิมพระเกียรติครบรอบ ๑๐๐ ปี สมเด็จย่า ณ บริเวณชุมทางต่างระดับพุทธมณฑลสาย ๒ โครงการ ปลูกต้นไม้ โครงการ ๙ นาที ๙ ล้านต้น เพื่อล้นเกล้า ฯ เมื่อ พ.. ๒๕๔๓ โดยร่วมกับกรมป่าไม้จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้บริเวณพื้นที่สำนักงานตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การปลูกต้นไม้ตาม สถานที่ต่าง ๆ นั้น กรมทางหลวงได้คัดเลือกพันธุ์ไม้โดยยึดหลักความเหมาะสมกับพื่นที่ในแต่ละภาคของประเทศ เช่น สะเดา ขี้เหล็ก สักทอง มะขาม หางนกยูง ราชพฤกษ์ ต้นปีบ ทรงบาดาล เฟื่องฟ้า เป็นต้น
           ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา กรมทางหลวงได้ให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้พร้อม ๆ ไปกับการก่อสร้างและบำรุง รักษาเส้นทาง ทั้งนี้เพื่อให้ต้นไม้บริเวณสองข้างทางและในพื้นที่ดินของกรมทางหลวงทั่วประเทศเป็นแหล่งป่าไม้ที่ให้ความร่มรื่น เขียวขจี ก่อให้เกิด ความชุ่มชื้นแก่แผ่นดิน เป็นการสืบสานแนวพระราชดำริในการปลูกป่าของ " พ่อของแผ่นดิน "      ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญที่มักจะเกิดควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตของประเทศ ซึ่งพบ นทุกประเทศ และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้  เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการนำเอาทรัพยากร ธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ แต่ไม่ได้มีการวางแผนการจัดการที่เหมาะสมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมลง และปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศ 
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้มีการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิธีการจะทำนุบำรุงและปรับปรุงสภาพทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ในด้านต่างๆ โดยในด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ทรงเน้นงานการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเรื่องของปัญหาน้ำเน่าเสีย  พระราชดำริ พระราชกรณียกิจ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ หลักการ "น้ำดีไล่น้ำเสีย" หลักการบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับ ระบบการเติมอากาศ ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด และ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้คือ
           ทฤษฎี "น้ำดีไล่น้ำเสีย"ได้ทรงนำหลักการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจางตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "น้ำดีไล่น้ำเสีย" โดยใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก เป็นการใช้น้ำคุณภาพดีมาช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสีย ดังพระราชดำรัส เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ในอำเภอธัญบุรี เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.. 2532 "..แต่ 3,000 ไร่นั่นมันอยู่สูง จะนำน้ำโสโครกจากที่นี่ไปที่โน่นต้องสูบไปไม่ไหว แต่ว่าจะทำเป็นบึงใหญ่ที่จะเก็บน้ำได้สำหรับเวลาหน้าน้ำมีน้ำเก็บเอาไว้ หน้าแล้งก็ปล่อยลงมา ส่วนหนึ่งอาจปล่อยลงมา สำหรับล้างกรุงเทพฯ ได้เจือจางน้ำโสโครกในคลองต่างๆ.."
อีกทั้งได้พระราชทานแนวพระราชดำริโดยรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งเข้าไปตามคลองต่างๆ เช่น คลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร์ และคลองบางลำภู เป็นต้น โดยกระแสน้ำจะไหลแผ่กระจายขยายไปตามคลองซอยที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง ดังนั้น เมื่อทำการปล่อยน้ำให้ไหลเวียนจากปากคลองไปปลายคลองได้อย่างเหมาะสม ก็ย่อมจะช่วยเจือจางน้ำเน่าเสียได้มาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง
           การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการปรับปรุงคุณภาพของแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้ว เช่น บึงและหนองต่างๆ เพื่อทำเป็นแหล่งบำบัดน้ำเสีย โดยหนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ โครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการ บำบัดน้ำเสีย ตามแนวทฤษฎีการ พัฒนาโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวาการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศด้วยทรงห่วงใยในปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้นในหนองหาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งรับน้ำเสียจากครัวเรือน ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร ที่มีสภาพเกินขีดความสามารถในการรองรับของเสียพระบาทสมเด็จ    พระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ    ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่าง "พืช" กับ "ระบบการเติมอากาศ"    ณ บริเวณหนองสนม-หนองหาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างวิธีธรรมชาติกับเทคโนโลยีแบบประหยัด โดยมีกรมประมงร่วมกับกรมชลประทานดำเนินการศึกษาและก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในบริเวณดังกล่าว โดยมีระบบบำบัดด้วยพืชน้ำซึ่งเป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติในพื้นที่ 84.5 ไร่ และได้มีการก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.. 2537
          
การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัดโครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาภาวะมลพิษที่มีผลต่อการดำรงชีพของประชาชน อันเนื่องมาจากชุมชน เมืองต่างๆ ยังขาดระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดีและมีประสิทธิภาพ จึงทรงให้มีการดำเนินการตามโครงการดังกล่าว ขึ้นในพื้นที่ 1,135 ไร่ โดยเป็นโครงการศึกษาวิจัยวิธีการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอยและการรักษาสภาพป่าชายเลนด้วย วิธีธรรมชาติ   
        กังหันน้ำชัยพัฒนาปัจจุบัน สภาพมลภาวะทางน้ำมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องกลเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนเพื่อการบำบัด น้ำเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับอุปกรณ์การเติมอากาศ และทรงค้นคิดทฤษฎีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ โดยใช้วิธีทำให้อากาศสามารถละลายลงไปในน้ำเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและการเพาะตัวอย่างรวดเร็วของแบคทีเรีย จนมีจำนวนมากพอที่จะทำลายสิ่งสกปรกในน้ำให้หมดสิ้นไปโดยเร็วตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ซึ่งเป็นรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย ประหยัด เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากแหล่งชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรม และได้มีการนำไปใช้งานทั่วประเทศ
การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาทดลองวิจัยดูว่า จะใช้ "ปลา" บางชนิดกำจัดน้ำเสียได้หรือไม่ ปลาเหล่านี้น่า จะเข้า ไปกินสารอินทรีย์ในบริเวณแหล่งน้ำเสีย ซึ่งปรากฏว่าปลาบางสกุลมีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่น ปลากระดี่ ปลาสลิด เหมาะแก่การเลี้ยงในน้ำเสีย และชอบ กินสารอินทรีย์ จึงช่วยลดมลภาวะในแหล่งน้ำ วิธีการนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดน้ำเสียได้ ซึ่งจะมีต้นทุนต่ำ และสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำได ้อีกทางหนึ่งด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม "องค์การอาหารและ เกษตรแห่งสหประชาชาติ" (เอฟเอโอ) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการพัฒนาการเกษตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.. 2538 ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอุทิศพระองค์ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยโดยเฉพาะผู้ซึ่งประกอบ อาชีพเพาะปลูก บำรุงรักษาน้ำ และบำรุงรักษาป่า ซึ่งทรงยึดหลัก "สนับสนุนการพัฒนาแบบยั่งยืนเพื่อความมั่นคงในอนาคต" เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อให้ประจักษ์ชัดเจน จากความสำเร็จ ในด้านการพัฒนาเอฟเอโอออกแถลงการณ์สดุดีพระองค์ว่า ทรงพระปรีชาสามารถเกี่ยวกับความยุติธรรมของสังคม ซึ่งได้ปรากฏเห็นเป็นตัวอย่างจากนโยบายเรื่องการแบ่งที่ดินทำกินเพื่อเกษตรกรและผู้ทำนุบำรุงรักษาป่า ทรงวิริยะอุตสาหะในเรื่องการกักเก็บน้ำให้เพียงพอเพื่อประกันผลผลิตอาหาร การอนุรักษ์สันปันน้ำและป้องกัน การ กัดเซาะผิวดิน ซึ่งสนับสนุนแผยแพร่การเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งรวบรวมแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก และขยายพันธุ์สัตว์ให้เจริญเติบโตขึ้นตลอดจนการบำรุงผิวดิน ทรงมีพระอุตสาหะอันสูงส่งในการสงวนรักษาพันธุ์พืช ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อมนุษยชาติในการค้นคว้าเรื่องอาหาร ทั้งนี้ เนื่องจากทรงมีสายพระเนตรอันกว้างไกลในการที่จะทำให้โลกปราศจากความหิวโหยและประชาชน มีอาหารเพียงพอต่อการดำรงชีวิต 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น